เศรษฐกิจไทยในเดือนเม.ย. ขยายตัว

เศรษฐกิจไทยในเดือนเม.ย. ขยายตัวโดยได้รับการหนุนจากยอดขายรถยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ ในช่วงฤดูร้อน + การผลิตสิ่งทอในช่วงพระราชพิธี

เศรษฐกิจไทยในเดือนเม.ย. ขยายตัวจากเดือนก่อนจากอุปสงค์ในประเทศโดยเครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่องในทุกหมวดการใช้จ่าย หนุนจากยอดขายรถยนต์ ส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวสอดคล้องกัน โดยภาคอุตสาหกรรมที่ขยายตัวได้ดีในเดือนเม.ย. ได้แก่ ยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า สำหรับเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวเล็กน้อยจากหมวดเครื่องจักร ด้านการท่องเที่ยวกลับมาขยายตัวแต่นักท่องเที่ยวจีนยังหดตัวต่อเนื่องเช่นเดียวกับการส่งออกไทยที่ได้รับผลกระทบจาก Trade War

ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (MPI) พลิกกลับมาขยายตัว

ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัว ที่ 2.0% YoY จากเดือนก่อนที่หดตัว -2.7% YoY ตามการผลิตในหมวดยานยนต์เพื่อรองรับอุปสงค์ในประเทศ ที่ขยายตัวได้ดีที่ 13.4% YoY (vs prev 2.4% YoY) สอดคล้องกับยอดขายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถยนต์เชิงพาณิชย์ที่ขยายตัวดีต่อเนื่อง และหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ 10.6% YoY จากเดือนก่อนที่ 0.6% YoYโดยเฉพาะการผลิตเครื่องปรับอากาศเพื่อจำหน่ายในประเทศและเพื่อการส่งออก จากสภาพอากาศในปีนี้ที่ร้อนกว่าปกติ

อย่างไรก็ดี การผลิตในหมวดฮาร์ดดิสไดรฟ์หดตัวต่อเนื่องที่ -12.1% YoY ตามอุปสงค์ ต่างประเทศที่ชะลอลงต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้ประกอบการปรับลดระดับสินค้าคงคลัง หมวดอาหารและเครื่องดื่มหดตัว -1.4% YoY ตามการผลิตน้ำตาลเนื่องจากผลผลิตอ้อยน้อยกว่าปี ก่อนหน้า และหมวดอิเล็กทรอนิกส์หดตัวต่อเนื่อง -4.5% YoY โดยเฉพาะแผงวงจรรวม ส่วนหนึ่งเป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าชะลอตัวและวัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ยังชะลอลงต่อเนื่อง ทั้งนี้ เมื่อขจัดผลของฤดูกาลแล้ว การผลิตภาคอุตสาหกรรมโดยรวมเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ 2.5% MoM sa จากเดือนก่อนที่ 0.2% MoM sa จากการผลิตในหมวดยานยนต์ หมวดสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มตาม การผลิตเครื่องนุ่งห่มเพื่อรองรับงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และหมวดผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติกตามการผลิตยางรัดของและน้ำยางข้น

การบริโภคภาคเอกชนทรงตัวที่ 3.4% YoY

ดัชนีการบริโภคภาคเอกชนขยายตัว 3.4% YoY ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า ตามการใช้จ่ายในทุกหมวดสินค้า ทั้งนี้ เมื่อขจัดผลของฤดูกาลแล้ว การบริโภคภาคเอกชนทรงตัวจากเดือนก่อนที่ 0.4% MoM sa ในรายองค์ประกอบ

  • การใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทนขยายตัวที่ 4.7% YoY (vs prev 4.8% YoY) ตามยอดขายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถยนต์เชิงพาณิชย์จากการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่และมาตรการส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการ เมื่อเทียบรายเดือน Flat ที่ -0.1% MoM sa
  • การใช้จ่ายในหมวดสินค้ากึ่งคงทนขยายตัว 2.0% YoY (vs prev 1.7% YoY) จากยอดขายปลีกสินค้ากึ่งคงทนในหมวดชิ้นส่วนและอุปกรณ์เสริมยานยนต์ และหมวดอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ รวมทั้งปริมาณ การนำเข้าเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม ทั้งนี้ เมื่อขจัดผลของฤดูกาลแล้ว การใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทนและกึ่งคงทนอยู่ที่ -0.2% MoM sa
  • การใช้จ่ายสินค้าไม่คงทนขยายตัว 2.0% YoY (vs prev 1.5% YoY) ตามปริมาณการใช้ไฟฟ้าของครัวเรือน สอดคล้องกับสภาพอากาศที่ร้อนกว่าระยะเดียวกันปีก่อน ปริมาณการใช้ น้ำมันเชื้อเพลิงขยายตัว สอดคล้องกับยอดขายรถยนต์ในประเทศ และการใช้จ่ายในหมวดสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่รวมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และยาสูบ ทั้งนี้ เมื่อขจัดผลของฤดูกาลแล้ว การใช้จ่ายในหมวดสินค้า ไม่คงทนอยู่ที่ -0.2% MoM sa
  • การใช้จ่ายภาคบริการขยายตัว 3.8% YoY จากเดือนก่อนที่ 3.7% YoY ตามการใช้จ่ายในหมวดโรงแรมและ ภัตตาคารเมื่อขจัดผลของฤดูกาลแล้ว การใช้จ่ายในหมวดบริการเพิ่มขึ้น 0.6% MoM sa

การลงทุนภาคเอกชนพลิกกลับมาขยายตัวหนุนโดยการลงทุนในเครื่องจักร

การลงทุนภาคเอกชนขยายตัว 0.3% YoY จากเดือนก่อนหน้าที่ -1.6% YoY จากเครื่องชี้การลงทุนในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์,วัสดุก่อสร้าง, และยอดขายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ ทั้งนี้ เมื่อขจัดผลของฤดูกาลแล้ว เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ 0.9% MoM sa โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นในทุกหมวด

จำนวนนักท่องเที่ยวจีนยังหดตัวต่อเนื่อง

นักท่องเที่ยวไทยเดือนเม.ย. อยู่ที่ 3.2 ล้านคน หรือขยายตัว 3.3% (vs prev -0.7% YoY) โดยที่นักท่องเที่ยวจากอาเซียน และเอเชียใต้ขยายตัวได้ดี อย่างไรก็ดี ทิศทางของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศยังดูไม่ดีนักเนื่องจาก นักท่องเที่ยวจีนยังหดตัวสูง ที่ -9.0% ซึ่ง Market Share ของนักท่องเที่ยวจีนคิดเป็นสัดส่วนเกือบ 30% ของจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมด ทั้งนี้การท่องเที่ยวจะเข้าสู่ช่วง Low-season ในเดือนพ.ค. เป็นต้นไปทำให้เรามีมุมมองต่อยอดนักท่องเที่ยวไม่ดีนัก

รายได้เกษตรกรหดตัวจากอ้อยและปาล์ม

รายได้เกษตร หดตัว -1.8% YoY (vs prev -3.7% YoY) จากทั้งด้านราคา (-0.7% YoY vs prev -2.2% YoY) และด้านผลผลิต (-1.1% YoY vs prev -1.5% YoY) โดยราคาสินค้าเกษตรหดตัวในหลายหมวดสินค้า โดยเฉพาะอ้อยที่ราคาหดตัวตามราคาน้ำตาลในตลาดโลก และปาล์มน้ำมันตามปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดมากประกอบกับสต็อกน้ำมันปาล์มดิบยังอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ดี ราคาสุกรยังขยายตัวต่อเนื่อง และราคาข้าวหอมมะลิขยายตัวจากปริมาณผลผลิตที่มีจำกัด ด้านผลผลิตสินค้าเกษตรหดตัวจากผลผลิตอ้อยเป็นหลัก

การส่งออกหดตัวต่อเนื่อง

การส่งออกหดตัว -2.9% YoY (vs prev -4.2% YoY) และหากหักทองคำหดตัว -1.5% YoY (vs prev -4.3% YoY) เนื่องจากอุปสงค์ในตลาดโลกชะลอลงตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า ผลของมาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน และวัฏจักรสินค้า อิเล็กทรอนิกส์ที่ยังชะลอลงต่อเนื่อง โดยสินค้าที่การส่งออกยังคงหดตัว ได้แก่

  • หมวดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ แผงวงจรรวม และ โทรศัพท์มือถือ
  • หมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ตามการส่งออกเครื่องจักรใน การก่อสร้างไปอาเซียน
  • หมวดผลิตภัณฑ์โลหะ ตามการส่งออกเหล็ก ส่วนหนึ่งเป็นผลของฐานสูงในปีก่อน และ
  • หมวดสินค้าเกษตรแปรรูป ตามการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางไปจีนและน้ำตาลไปยังอาเซียนและไต้หวัน อย่างไรก็ดี การส่งออกในบางหมวดสินค้ายังขยายตัวได้ อาทิ
  • หมวด เครื่องใช้ไฟฟ้า ตามการส่งออกเครื่องปรับอากาศ และเครื่องรับโทรทัศน์
  • หมวดสินค้าเกษตร ตามการส่งออกผลไม้ และ
  • หมวดยานยนต์และ ชิ้นส่วน ตามการส่งออกรถจักรยานยนต์และยางล้อ

การนำเข้าหดตัว -0.4% YoY (vs prev -5.8% YoY)และหากหักทองคำหดตัว -1.9% YoY (vs prev -0.4% YoY) จากการนำเข้าสินค้าในหมวดวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลาง โดยการนำเข้าเชื้อเพลิงหดตัวจากด้านปริมาณ โลหะหดตัวตามการนำเข้าเหล็ก เคมีภัณฑ์หดตัวตามการนำเข้าปุ๋ยเคมีที่ใช้ในการเกษตร และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์หดตัวตามการนำเข้าแผงวงจรพิมพ์ ส่วนประกอบฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ สอดคล้องกับการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ยังหดตัวต่อเนื่อง ขณะที่ การนำเข้าในหมวดสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวจากการนำเข้าอาหารและ เครื่องดื่ม เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ และสิ่งทอ สอดคล้องกับการบริโภค ภาคเอกชนที่ขยายตัวดี สำหรับการนำเข้าหมวดสินค้าทุนที่ไม่รวมเครื่องบิน และแท่นขุดเจาะขยายตัวตามการนำเข้าเครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรม ต่างๆ สะท้อนการลงทุนภาคเอกชนโดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม

ดุลการชำระเงินขาดดุล -1.2 พันล้านดอลลาร์ฯ จากเดือนก่อน -0.1 พันล้านดอลลาร์ฯ จากดุลบัญชีเดินสะพัดที่เกิดดุลลดลงผลจากดุลการค้า

ดุลการชำระเงินขาดดุล -1.2 พันล้านดอลลาร์ฯจาก ดุลบัญชีเดินสะพัดที่เกินดุล 1.8 พันล้านดอลลาร์ฯ (vs prev 6.1 พันล้านดอลลาร์ฯ) ตามดุลการค้าที่ลดลงที่ 0.1 พันล้านดอลลาร์ฯ ( vs prev 3.6 พันล้านดอลลาร์ฯ)จากมูลค่าการส่งออกสินค้าที่ลดลง ขณะที่มูลค่าการนำเข้าสินค้าปรับเพิ่มขึ้น และดุลบริการที่ลดลงจากรายรับภาคการท่องเที่ยว สำหรับดุลบัญชีเคลื่อนย้ายทุน ขาดดุลสุทธิที่ -1.7 พันล้านดอลลาร์ฯ (vs prev -4.9 พันล้านดอลลาร์ฯ) จากทั้งด้านสินทรัพย์และด้านหนี้สิน โดยด้านสินทรัพย์ไหลออก สุทธิจาก 1) สถาบันการเงินที่รับฝากเงินไทยนำเงินออกไปฝากในต่างประเทศ เพื่อปรับฐานะเงินตราต่างประเทศ และลงทุนในตราสารหนี้ประเทศญี่ปุ่น 2) ภาครัฐบาล จากกิจกรรมจัดการกองทุนที่ลงทุนซื้อตราสารหนี้ในประเทศ จีนและอังกฤษ สำหรับด้านหนี้สินไหลออกสุทธิจาก 1) สถาบันการเงินที่รับ ฝากเงินไทยชำระคืนเงินกู้ต่างประเทศระยะสั้นเพื่อปรับฐานะเงินตรา ต่างประเทศ 2) นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิพันธบัตรระยะยาวของรัฐบาลและ พันธบัตรระยะสั้นของ ธปท. สอดคล้องกับทิศทางการลงทุนในภูมิภาค

June 5, 2019