เศรษฐกิจไทยในเดือน พ.ย.

เศรษฐกิจไทยในเดือนพ.ย. ให้ภาพที่แผ่วลงโดยการบริโภคภาคเอกชนชะลอลงจากรายได้เกษตรที่หดตัว ส่วนการลงทุนภาคเอกชนยังขยายตัวได้ดีจากการย้ายฐานการผลิตกลุ่ม HDD มาไทย ประกอบกับโครงการก่อสร้างภาครัฐได้เริ่มก่อสร้างทำให้ยอดขายซีเมนต์และวัสดุก่อสร้างขยายตัวดี การส่งออกถูกกระทบจากฐานที่สูงและการกีดกันทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ เป็นผลให้การผลิตเพื่อการส่งออกในสินค้าบางกลุ่มถูก Disrupt เช่นกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์มีการเร่งการผลิตเพื่อส่งออกมากขึ้นภายหลังจากที่สหรัฐฯและจีนยืดระยะเวลาการต่อรองออกไป ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดชะลอลงจากดุลการค้าที่เกินดุลลดลงกว่าครึ่ง

ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (MPI) ชะลอจากเดือนก่อนที่ 1.0% (เดือนก่อน 5.8% YoY)

ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (MPI) ชะลอจากเดือนก่อนที่ 1.0% (เดือนก่อน 5.8% YoY) เมื่อเปรียบเทียบรายเดือนอยู่ที่ 1.5% MoM sa โดยภาพรวมการผลิตชะลอในทุกหมวด โดยหมวดที่ยังหดตัวสูงจากเดือนก่อนคือ ยางพาราและพลาสติก (-12.7% YoY จากเดือนก่อน -14.5% YoY) จากการชะลอคำสั่งซื้อ ของผู้ประกอบการจีน ประกอบกับสินค้าคงคลังในจีนยังอยู่ในระดับสูง, เสื้อผ้าและสิ่งทอ (-2.2% YoY เท่ากับเดือนก่อน) ส่วนหมวดการผลิตที่ยังขยายตัวได้แต่เห็นโมเมนตัมการชะลอลงอย่างชัดเจนคือหมวดยานยนต์และชิ้นส่วน (6.4% YoY จากเดือนก่อน 22.7% YoY) โดยเป็นการชะลอในทุกหมวดย่อย (รถยนต์นั่ง, รถยนต์เพื่อการพาณิชย์,และเครื่องยนต์) ขณะที่หมวดอาหารและเครื่องดื่มชะลอเช่นกันที่ 3.5% YoY จากเดือนก่อนหน้าที่ 8.4% YoY ตามธุรกิจท่องเที่ยวที่ชะลอลง ทั้งนี้หมวดที่พลิกกลับมาเป็นบวกคือกลุ่ม IC และ Semiconductors ที่ขยายตัว 6.4% YoY จากเดือนก่อนหน้าที่ -3.1% YoY

การบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวที่ 4.4% YoY ชะลอจากเดือนก่อนหน้าที่ 6.8% YoY

การบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวที่ 4.4% YoY ชะลอจากเดือนก่อนหน้าที่ 6.8% YoY จากปัจจัยสนับสนุนกำลังซื้อ โดยรวมแผ่วลง สะท้อนจากรายได้ครัวเรือนในภาคเกษตรกรรมที่หดตัว YoY ทั้งด้านผลผลิตและราคา ขณะที่รายได้รวมลูกจ้างนอก ภาคเกษตรกรรมทรงตัว ในรายองค์ประกอบ

  • การใช้จ่ายในหมวดสินค้าไม่คงทน ขยายตัวที่ 2.6% YoY จากเดือนก่อนหน้าที่ 2.9% YoY ตามการขยายตัวของหมวดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ, การใช้ไฟฟ้าของครัวเรือน และปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง สอดคล้องกับ ยอดขายรถยนต์ในประเทศที่เพิ่มขึ้น เมื่อขจัดผลของฤดูกาลแล้ว การใช้จ่ายในหมวดสินค้าไม่คงทนปรับลดลง -0.5% MoM sa
  • การใช้จ่ายในหมวดสินค้ากึ่งคงทนชะลอที่ 3.4% YoY จาก 5.9% YoY หรือ -0.8% MoM sa ตามปริมาณการนำเข้าเสื้อผ้าและ เครื่องนุ่งห่ม และกลุ่ม อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ และกลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์
  • การใช้จ่ายสินค้าคงทนขยายตัว 7.7% YoY จากเดือนก่อนหน้าที่ 10.8% YoY เมื่อเทียบรายเดือนขยายตัว 1.1% MoM sa จากปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งส่วนบุคคล และรถยนต์เชิงพาณิชย์
  • การใช้จ่ายในหมวดบริการขยายตัว 3.6% YoY จากเดือนก่อนหน้าที่ 4.5% YoY เป็นการขยายตัวในทิศทางที่ชะลอลงต่อเนื่องจาก การใช้จ่ายในหมวด โรงแรมและภัตตาคาร สอดคล้องกับจำนวนนักท่องเที่ยวในไทยที่ชะลอลงเมื่อเทียบรายเดือนเกือบ Flat ที่ 0.5% MoM sa

การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวที่ 3.1% YoY ใกล้เคียงกับเดือนก่อนที่ 3.2% YoY

การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวที่ 3.1% YoY ใกล้เคียงกับเดือนก่อนที่ 3.2% YoY หรือ 0.7% MoM sa เมื่อเทียบรายเดือน

การลงทุนด้านเครื่องจักรและสินค้าทุน

  • การนำเข้าสินค้าทุน ขยายตัว 6.5% YoY จาก 2.4% YoY เดือนก่อน หนุนโดยการนำเข้าเครื่องจักรอุตสาหกรรม เครื่องจักรเพื่อใช้ใน การตรวจสอบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตามการย้ายฐานการผลิตของธุรกิจ ผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์มายังไทย และการนำเข้าขบวนรถไฟ สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายช่วงสมุทรปราการ บางปู
  • ยอดจำหน่ายเครื่องจักรในประเทศชะลอลงที่ 3.9% YoY จากเดือนก่อนหน้าที่ 5.3% YoY จากคอมพิวเตอร์ เครื่องจักรทั่วไป เครื่องยนต์และเครื่องกังหัน และ เครื่องจักรและเครื่องใช้สำนักงาน
  • ยอดจดทะเบียนรถยนต์โดยรวมชะลอที่ 2.6% YoY จาก 7.5% YoY เดือนก่อน

การลงทุนด้านการก่อสร้าง

หดตัวต่อเนื่องที่ -8.9% YoY จากเดือนก่อนที่ -6.9% YoY เมื่อเทียบรายเดือนยังหดตัว -0.9% MoM sa ตามพื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างทั่วประเทศ ที่หดตัวต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ยอดจำหน่ายวัสดุก่อสร้างยังขยายตัว ได้ดีที่ 8.3% YoY จากเดือนก่อน 13.9% YoY โดยเฉพาะซีเมนต์ผสม เสาเข็มคอนกรีต และคอนกรีต ผสมเสร็จแต่เมื่อเทียบรายเดือนหดตัว -1.0% MoM sa โดยวัสดุก่อสร้างได้รับแรงหนุนจากการก่อสร้างภาครัฐที่ทำให้ผู้รับเหมาที่รับงานดังกล่าวต้องเร่งซื้อวัสดุก่อสร้าง

จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดือนก.ย.อยู่ที่ 3.2 ล้านคน (prev. 2.7 ล้านคน) ขยายตัว 4.5% YoY (prev. -0.5% YoY)

จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ พลิกกลับมาขยายตัวที่ 4.5 %YoY จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัว -0.5% YoY ตามการขยายตัวของนักท่องเที่ยวเกือบทุกตลาดสำคัญ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวมาเลเซีย นอกจากนี้ จำนวน นักท่องเที่ยวฮ่องกงและนักท่องเที่ยวอินเดียขยายตัวดีตามการเปิดเส้นทางการบินมายังไทยเพิ่ม อย่างไรก็ดี จำนวนนักท่องเที่ยวจีนยังหดตัวต่อเนื่องที่ -14.6% YoY จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัว -19.8% YoY ทั้งนี้ เมื่อเทียบรายเดือนแล้วนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 4.0% MoM sa

รายได้เกษตรหดตัวที่ -5.0% YoY จากที่ขยายตัวที่ 5.5% YoY ในเดือนก่อน จากทั้งฝั่งผลผลิตและราคา

รายได้เกษตรหดตัวที่ -5.0% YoY จากที่ขยายตัวที่ 5.5% YoY ในเดือนก่อน ตามการหดตัวของผลผลิตสินค้าเกษตร (-2.9% YoY จากเดือนก่อนที่ 5.9% YoY ) จากผลผลิตข้าวหอมมะลิ เนื่องด้วยปัญหาฝนทิ้งช่วงในบางพื้นที่โดยเฉพาะในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับราคาสินค้าเกษตรหดตัวต่อเนื่อง (-2.1% YoY จากเดือนก่อน -0.3% YoY) ตามราคายางพาราและปาล์มน้ำมัน เนื่องจากอุปทานในประเทศออกสู่ตลาดมาก ขณะที่อุปสงค์ ต่างประเทศชะลอตัว และราคากุ้งขาวที่ลดลงตามอุปทานกุ้งจากอินเดียที่เพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ดี ราคาข้าวหอมมะลิ และมันสำปะหลังยังขยายตัวได้จากปริมาณผลผลิต ที่มีจำกัด

มูลค่าการส่งออกสินค้าของไทยเกือบ Flat ที่ 0.2% YoY จากเดือนก่อนหน้าที่ 8.4% YoY และหากไม่รวมทองคำหดตัว -2.9% YoY

  • มูลค่าการส่งออกสินค้าของไทยเกือบ Flat ที่ 0.2% YoY จากเดือนก่อนหน้าที่ 8.4% YoY และหากไม่รวมทองคำหดตัว -2.9% YoY (จากเดือนก่อนที่ 4.4% YoY) โดยเป็นการหดตัวในหลายหมวดสินค้าซึ่งเป็นผลมาจาก
  • ฐานสูงจากระยะเดียวกันปีก่อน อาทิ ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ที่ผู้ผลิตมีการใช้ กำลังการผลิตเต็มที่ในปีก่อน โทรศัพท์มือถือจากการเหลื่อมเดือนของการ เปิดตัวโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ ยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์จากการเร่ง ส่งออกรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไปฟิลิปปินส์ก่อนการปรับขึ้นภาษีสรรพสามิต รถยนต์ในช่วงต้นปี 2018 และสินค้าเกษตร โดยเฉพาะข้าวจากด้านปริมาณ ที่มีการส่งออกไปประเทศที่ผลผลิตได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติ ในช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ผลของมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ และจีน ประกอบกับวัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และอุปสงค์ต่อรถยนต์ในจีน ชะลอตัว ส่งผลให้การส่งออกฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ แผงวงจรรวม และยางพารา ไปจีนหดตัว อย่างไรก็ดี การส่งออกสินค้าที่มูลค่าเคลื่อนไหวตามราคาน้ำมัน ขยายตัวต่อเนื่อง จากผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่ราคายังขยายตัวได้แม้ราคา น้ำมันดิบในตลาดโลกโน้มลดลง เคมีภัณฑ์ที่ขยายตัวทั้งทางด้านราคาและ ปริมาณ และปิโตรเคมี ทั้งนี้ การส่งออกไปสหรัฐฯ เร่งขึ้นในเดือนนี้จาก การส่งออกยางล้อรถยนต์เป็นสำคัญ รวมทั้งเริ่มเห็นผลดีจากการทดแทน สินค้าจีนในตลาดสหรัฐฯ ในบางกลุ่มสินค้า

มูลค่าการนำเข้าสินค้าของไทยขยายตัว 16.2% YoY จากเดือนก่อนหน้าที่ 13.3% YoY หากไม่รวมทองคำขยายตัว 19.4% YoY

มูลค่าการนำเข้าสินค้าของไทยขยายตัว 16.2% YoY จากเดือนก่อนหน้าที่ 13.3% YoY หากไม่รวมทองคำขยายตัว 19.4% YoY จากเดือนก่อนหน้าที่ 13.3% YoY โดยเป็นการขยายตัวในหลายหมวดสินค้า ได้แก่

  • หมวดวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลาง ตามการนำเข้าน้ำมันดิบที่ขยายตัวทั้งด้านราคา และปริมาณ การนำเข้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์ และโลหะ
  • หมวดสินค้าทุนที่ไม่รวมเครื่องบินและแท่นขุดเจาะ ตามการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์หลายประเภท สอดคล้องกับการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัว
  • หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค ขยายตัวตามการนำเข้าสินค้าคงทนและ ไม่คงทน สอดคล้องกับการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัว และ
  • หมวดยานยนต์และชิ้นส่วน สอดคล้องกับยอดขายรถยนต์ในประเทศที่ขยายตัวดี

ดุลการชำระเงินเกินดุล 0.4 พันล้านดอลลาร์ฯจากเดือนก่อนหน้าที่ขาดดุล -0.9 พันล้านดอลลาร์ฯ

ดุลการชำระเงินเกินดุล 0.4 พันล้านดอลลาร์ฯจากเดือนก่อนหน้าที่ขาดดุล -0.9 พันล้านดอลลาร์ฯ โดยในองค์ประกอบ

  • ดุลบัญชีเดินสะพัด เกินดุลลดลง (1.6 พันล้านดอลลาร์ฯจากเดือนก่อนที่ 1.9 พันล้านดอลลาร์ฯ) ตามดุลการค้าที่เกินดุลลดลง (0.7 พันล้านดอลลาร์ฯจากเดือนก่อนที่ 1.3 พันล้านดอลลาร์ฯ) เป็น ขณะที่ดุลบริการปรับ เพิ่มขึ้นที่ 1.0 พันล้านดอลลาร์ฯจากเดือนก่อนที่ 0.6 พันล้านดอลลาร์ฯ
  • ดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้าย ขาดดุลสุทธิ -0.3 พันล้านดอลลาร์ฯจากที่ขาดดุล -1.9 พันล้านดอลลาร์ฯ จากด้านสินทรัพย์ โดยเป็นการไหลออกจาก 1) สถาบันการเงินที่รับฝากเงินเพิ่มเงินฝากในต่างประเทศเพื่อปรับฐานะเงินตราระหว่างประเทศ เนื่องจากผู้ส่งออกและนักลงทุนไทยลดการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามเงินบาทที่โดยเฉลี่ยอ่อนค่าลงในเดือนนี้ และการลงทุนในตราสารหนี้ของสหรัฐฯ และ 2) การลงทุนโดยตรงของนักลงทุนไทยในต่างประเทศ ในธุรกิจโฮลดิ้งในมัลดีฟส์ และธุรกิจบริการทางการเงินในเวียดนาม ด้านหนี้สินเป็นการไหลเข้าสุทธิจาก 1) การซื้อสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุน ต่างชาติ สอดคล้องกับทิศทางการลงทุนในภูมิภาค และ 2) การลงทุนโดยตรง จากต่างประเทศในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จากฮ่องกงและสหรัฐฯ
  • สำหรับเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยอยู่ที่ 2.03 แสนล้านดอลลาร์ฯ (prev. 2.02 แสนล้านดอลลาร์ฯ)
January 7, 2019