เศรษฐกิจไทยในเดือนต.ค. ปรับดีขึ้นจากเดือนก่อน

เศรษฐกิจไทยในเดือนต.ค. ปรับดีขึ้นจากเดือนก่อน โดยการบริโภค ภาคเอกชนขยายตัวสูง ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนและการส่งออกสินค้าพลิกกลับมาขยายตัวจากฐานต่ำ อย่างไรก็ดี จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศหดตัวในรอบ 19 เดือนจากนักท่องเที่ยวจีน

ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมหรือ Manufacturing Production Index (MPI) ขยายตัว 4.1% YoY (prev. -2.7 %YoY)
ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมหรือ MPI ขยายตัว 4.1% YoY จากที่หดตัว -2.7% YoY

  • หมวดยานยนต์ตามการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศทั้งรถยนต์เชิงพาณิชย์และรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ขยายตัว 15.6% YoY
  • หมวดอาหารและเครื่องดื่ม ขยายตัว 8.3% YoY
  • หมวดผลิตภัณฑ์ ปิโตรเลียม ขยายตัว 9.8% YoY

ทั้งนี้ เมื่อปรับฤดูกาลแล้ว การผลิตภาคอุตสาหกรรมโดยรวมพลิกกลับมาบวกที่ 2.1% MoM sa

การบริโภคภาคเอกชนโต 6.5% YoY (prev. 2.5% YoY)

  • การบริโภคเอกชนขยายตัวที่ 6.5% YoY (prev. 2.5% YoY ) หรือ 0.1% MoM sa เป็นการขยายตัวในทุกหมวดการใช้จ่าย โดยเฉพาะหมวดสินค้าคงทนที่ขยายตัวได้ที่ 10.8% YoY จากยอดขายรถยนต์ ส่วนการบริโภคสินค้าไม่คงทนสามารถพลิกกลับมาเป็นบวกได้ที่ 2.1% YoY หนุนโดย เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบ และน้ำมัน

การลงทุนภาคเอกชนพลิกกลับมาบวกที่ 2.5% YoY (prev. -1.8% YoY)

  • การลงทุนภาคเอกชนพลิกกลับมาบวกที่ 2.5% YoY (prev. -1.8% YoY) เมื่อเทียบรายเดือนขยายตัว 1.5% MoM sa โดยหนุนจากวัสดุก่อสร้างที่พลิกกลับมาบวกได้ที่ 12.6% YoY (6.7% MoM sa) ส่วนการลงทุนด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์ทั้งยอดในประเทศและยอดนำเข้าก็พลิกมาเป็นบวกได้ทั้งคู่ที่ 3.0% YoY และ 2.4% YoY ตามลำดับ เช่นเดียวกับยอดจดทะเบียนรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ที่ขยายตัวที่ 7.5% YoY จากที่หดตัวในเดือนก่อนหน้าที่ -1.5% YoY

จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดือนก.ย.อยู่ที่ 2.7 ล้านคน (prev. 2.7 ล้านคน) หดตัว -0.5% YoY (prev. 2.1% YoY)

  • จำนวนนักท่องเที่ยวตปท.อยู่ที่ 2.7 ล้านคนไม่ต่างจากเดือนก่อนหน้าแต่หดตัวจากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว -0.5% YoY (-1.2%MoM, prev. 2.1% YoY) เป็นการหดตัวครั้งแรกในรอบ 19 เดือน โดยจำนวนนักท่องเที่ยวจีนหดตัวสูง -19.8% YoY (prev. -14.9% YoY) จากความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวจีนสืบเนื่องจากสถานการณ์ภูเก็ตและค่าเงินหยวนอ่อนค่า ส่วนนักท่องเที่ยวยุโรปและรัสเซียหดตัวจากการเปลี่ยนจุดหมายปลายทางในการเดินทาง

รายได้เกษตรกรขยายตัวที่ 3.9% YoY (prev. -4.0% YoY)

  • รายได้เกษตรกรขยายตัวที่ 3.9% YoY (prev. -4.0% YoY) ตามการขยายตัวของผลผลิตสินค้าเกษตรที่ขยายตัวดีในทุกหมวดสินค้าหลัก (4.2% YoY vs. 2.2% YoY) โดยเฉพาะผลผลิตยางพาราตามพื้นที่เปิดกรีดใหม่และ ผลไม้ ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรหดตัว-0.4% YoY (prev. -6.0% YoY) จากราคายางพาราและปาล์มน้ำมัน เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดมาก และราคากุ้งที่ลดลง ตามปริมาณผลผลิตกุ้งจากอินเดียที่ออกสู่ตลาดมาก อย่างไรก็ดี ราคาข้าวหอมมะลิ ข้าวขาว และมันสำปะหลังยังขยายตัวได้จากปริมาณผลผลิตที่มีจำกัด

การส่งออกขยายตัว 8.4% YoY (prev. -5.5% YoY) หากหักทองคำขยายตัว 7.0% YoY (prev. -1.0% YoY)

การส่งออกขยายตัว 8.4% YoY (prev. -5.5% YoY) หากหักทองคำขยายตัว 7.0% YoY (prev. -1.0% YoY) จากฐานต่ำปีก่อน โดยการส่งออกสินค้าขยายตัวในหลายหมวด และเกือบทุกตลาด อาทิ

  • สินค้าที่ราคาเคลื่อนไหวตามราคาน้ำมัน เช่นปิโตรเคมีโดยเฉพาะเม็ดพลาสติกไปจีน และญี่ปุ่น และ เคมีภัณฑ์ไปจีนที่กลับมาขยายตัว
  • สินค้าเกษตรแปรรูป ตามการส่งออก น้ำตาลไปอินโดนีเซีย
  • เครื่องจักรและอุปกรณ์ ตามการส่งออก เครื่องจักรที่ใช้ในการเกษตรไปพม่าและอินเดีย และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าไปญี่ปุ่น
  • สินค้าเกษตร ตามการส่งออกข้าวไปจีน ประเทศ ในภูมิภาคแอฟริกา และฟิลิปปินส์

การนำเข้าขยายตัว 13.3% YoY (prev. 14.3% YoY)

การนำเข้าขยายตัว 13.3% YoY (prev. 14.3% YoY) และหากหักทองคำขยายตัว 13.3% YoY (prev. 12.5% YoY) เท่ากัน โดยหมวดสินค้าที่ขยายตัวได้แก่

  • หมวดวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางเช่นผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและ น้ำมันดิบ, ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์, และโลหะ
  • หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค
  • หมวดยานยนต์และ ชิ้นส่วนสอดคล้องกับการผลิตและยอดขายรถยนต์ในประเทศที่ขยายตัวดี
  • หมวดสินค้าทุน ตามการนำเข้าเครื่องจักรและ อุปกรณ์ อาทิ มอเตอร์ไฟฟ้า เครื่องกำเนิดไฟฟ้า รวมถึงโทรศัพท์มือถือและส่วนประกอบ สอดคล้องกับการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัว

ดุลการชำระเงินขาดดุล -0.9 พันล้านดอลลาร์ฯ (เดือนก่อนหน้าเกินดุล 1 พันล้านดอลลาร์ฯ)

ดุลการชำระเงินขาดดุล -0.9 พันล้านดอลลาร์ฯ (เดือนก่อนหน้าเกินดุล 1 พันล้านดอลลาร์ฯ) จาก

  • ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลลดลง(1.9 พันล้านดอลลาร์ vs prev. 2.4 พันล้านดอลลาร์ฯ) ตามดุลการค้าที่เกินดุลลดลง (1.3 พันล้านดอลลาร์ vs prev. 2.0 พันล้านดอลลาร์ฯ) ขณะที่ดุลบริการ รายได้ และเงินโอนปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยตามการจ่ายกำไรและเงินปันผลที่ ลดลง
  • ดุลบัญชีทุนเคลื่อนย้าย ขาดดุลสุทธิจากทั้งด้านสินทรัพย์และหนี้สินที่ -1.9 พันล้านดอลลาร์ฯ (prev. 183 ล้านดอลลาร์ฯ )โดยด้านสินทรัพย์เป็นการไหลออกสุทธิจาก 1) การลงทุนโดยตรงของนักลงทุนไทยในต่างประเทศของธุรกิจ ที่พักแรมระยะสั้น และ 2) การลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศของนักลงทุนไทย โดยเฉพาะธุรกิจผลิตน้ำมันดิบในตราสารทุน และสถาบันการเงินที่รับ ฝากเงินในตราสารหนี้

ด้านหนี้สินเป็นการไหลออกสุทธิ จาก 1) การขายสุทธิ ตราสารทุนของนักลงทุนต่างชาติ สอดคล้องกับทิศทางการลงทุนในตลาดทุน ทั่วโลก และ 2) การชำระคืนเงินกู้ระยะสั้นสถาบันการเงินที่รับฝากเงิน

  • สำหรับเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยอยู่ที่ 2.02 แสนล้านดอลลาร์ฯ (prev. 2.05 แสนล้านดอลลาร์ฯ)
December 3, 2018